เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ปัญหาที่ทุกคนต้องประสบพบเจอกับตนเองคือ การเป็นสิว ซึ่งสิวส่วนใหญ่มักจะขึ้นตรงบริเวณที่มีรูขุมขน และบริเวณทั่วใบหน้า คนที่เป็นสิวบางคนชอบบีบสิว แกะสิว แต่เป็นการกระทำที่ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ผิวหน้าเกิดเป็นรอยดำ รอยแดง หลุมสิว และทิ้งรอยแผลเป็นในที่สุด สิวที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจให้กับคนที่เป็นสิว จนทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง
ทำความรู้จักกับ “สิว” คืออะไร?
“สิว” (Acne) คือ ความผิดปกติของบริเวณรูขุมขน ร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย สิ่งสกปรก จนทำให้เกิดมีเม็ดนูนขึ้นที่บริเวณใบหน้า หลัง คอ และหน้าอก แต่ส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้นตรงบริเวณใบหน้า สิวที่ปรากฏขึ้นมามักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นทั้งผู้หญิงและผู้ชายในช่วงอายุ 12 – 25 ปี และวัยผู้ใหญ่ 40 ปี แต่บางคนเมื่อมีอายุมากขึ้นสิวก็จะลดลงเรื่อย ๆ
ซึ่งประเภทของสิวที่เกิดขึ้นมีหลากหลายประเภท เช่น สิวอุดตัน สิวหัวหนอง สิวอักเสบ สิวหัวดำ สิวไต สิวอักเสบไม่มีหัว หรือสิวประเภทอื่น ๆ เวลาที่กดสิวจะทำให้รู้สึกเจ็บ ปวด หากไม่ทำการดูแล หรือรักษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญอาจจะทำให้การลุกลามของสิวเพิ่มมากกว่าเดิม รวมถึงเกิดการติดเชื้อที่สิว ซึ่งอาจจะทำให้การรักษาสิวเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
สิวเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
สิวเกิดจากบริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันในรูขุมขนมีความผิดปกติ ร่วมกับปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมกัน ที่ทำให้เกิดสิว โดยสาเหตุหลักที่พบเจอบ่อยสำหรับคนที่เป็นสิว มีดังนี้
- การอุดตันของรูขุมขน
- เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วตรงบริเวณใบหน้า หลัง คอ ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป สะสมในรูขุมขน และแบคทีเรียสะสมในรูขุมขน จนทำสิวเห่อขึ้นมา
- เซลล์ผิวหนังบางคนมีเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดลอกออกไม่หมด เป็นสาเหตุของการเกิดสิว
- ติดเชื้อแบคทีเรีย
- แบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes) เป็นแบคทีเรียที่พบได้เป็นปกติบนผิวหนัง ในรูขุมขน และในต่อมไขมันของมนุษย์ เป็นสาเหตุของการเกิดสิว
- เชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes บริเวณรูขุมขนเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดเป็นสิวอุดตัน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกิดเป็นเม็ดนูนแดงขึ้นมา เมื่อสัมผัสหรือกดจะทำให้รู้สึกเจ็บ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ฮอร์โมนเพศชาย (androgen) เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นมักจะเกิดเป็นสิวฮอร์โมน เนื่องจากฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนเพศชายจะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการสร้างไขมันออกมามากกว่าปกติ เมื่อน้ำมันไหลไปหารูขุมขนจะเกิดการผสมกับแบคทีเรียและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จนทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขนก่อให้เกิดเป็นสิว
- ผู้หญิงหลายคนมีสิวขึ้นก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงก่อนมีประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำลง จะเกิดการกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น จึงทำให้น้ำมันส่วนเกินอุดตันที่รูขุมขน จนเกิดเป็นสิวช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือตอนมีประจำเดือน
- พันธุกรรม
- หากคนในครอบครัวเป็นคนที่มีรูขุมขนกว้าง หน้ามัน หรือเคยมีประวัติเป็นสิวขึ้นเห่อทั้งหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลมาถึงลูกได้ เนื่องจากการเกิดสิวสามารถถ่ายทอดได้จากพันธุกรรม
- อาหาร
- อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง หากรับประทานเข้าไปเป็นประจำจะส่งผลทำให้เกิดเป็นสิวได้
บริเวณที่มักจะเกิดสิว
สิวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสิวผด สิวหัวช้าง และสิวประเภทอื่น ๆ ก็ตาม บริเวณที่มักจะพบเห็นได้บ่อยในคนที่เป็นสิว มีดังนี้
- ใบหน้า หน้าผาก จมูก คาง และแก้ม
- หน้าอก แผ่นหลัง
- หัวไหล่
- แขนและชา
วิธีรักษาสิว มีกี่วิธีและอย่างไร
วิธีรักษาสิวมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของสิว ความรุนแรง และสภาพผิวของแต่ละบุคคล ควรปรึกษากับหมอรักษาสิว หรือหมอผิวหนังเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม ยกตัวอย่างวิธีรักษาสิว ดังนี้
การรักษาด้วยยา
รักษาสิวด้วยยาจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ เช่น ยาทาเฉพาะจุด และยาสำหรับประทาน
ยาทาเฉพาะจุด
- ยาปฏิชีวนะ ใช้ทาบริเวณที่เป็นสิวเนื่องจากสิวอุดตันเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ยา benzoyl peroxide ออกฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย Propionibacterium acnes ช่วยลดการอักเสบของสิว
- กรดวิตามินเอ (Retinoids) ช่วยกระตุ้นเกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่า ลดการอุดตันรูขุมขน ทำให้ไม่เกิดสิวขึ้นมาใหม่
ยาสำหรับประทาน
- ยาปฏิชีวนะ เช่น Tetracyclin, Macrolides และ Amoxycilin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่ทำให้เกิดเป็นสิวหัวขาว หรือสิวหนอง
- ยาปรับฮอร์โมน ตัวยาจะไปลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ลง ทำให้การผลิตไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังลดลง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดสิว
การเลเซอร์สิว
การใช้เลเซอร์รักษาสิวเป็นการรักษารอยแดง หรือรอยแดงที่เกิดขึ้นหลังเกิดสิวอักเสบ เลเซอร์จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวลดน้อยลง และช่วยลดการสร้างไขมันจากต่อมไขมันบริเวณรูขุมขน
การกดสิว
การกดสิวเป็นวิธีรักษาสิวอุดตัน เพื่อนำเอาหัวสิวอุดตันที่อยู่ใต้ผิวหนังออก ก่อนที่สิวจะเกิดการอักเสบ ซึ่งวิธีที่นี้ควรรักษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามกดสิว หรือบีบสิวเอง
สิวประเภทไหนที่ควรพบแพทย์
สิวบางประเภทเป็นสิวที่ไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ หากเกิดการบีบ หรือกดสิวเองอาจจะทำให้สิวเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นและอาจเกิดเป็นรอยสิวได้ ควรพบแพทย์ผิวหนังหากมีสิวประเภท ดังต่อไปนี้
- สิวอักเสบรุนแรง เช่น สิวหัวช้าง สิวซีสต์ สิวอักเสบเรื้อรัง
- สิวที่มีรอยแดง รอยดำ สิวไม่มีหัว และรอยแผลเป็น
- เป็นสิวพร้อมกับมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ และอ่อนเพลีย
สิวปัญหา สามารถรักษาให้หายได้
สิวมักจะเกิดจากความผิดปกติของบริเวณรูขุมขน ต่อมไขมันในรูขุมขน แบคทีเรีย และอีกหลายสาเหตุ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับคนที่เป็นสิวทำให้สูญเสียความมั่นใจ ในการวิธีรักษาสิวอักเสบ และสิวประเภทอื่น ๆ ควรรักษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้กดสิว หรือบีบด้วยตนเองอาจจะส่งผลทำให้เกิดสิวลุกลามยิ่งขึ้น