หลายคนอาจจะคิดว่าการที่ประจำเดือนขาด อาจจะหมายถึงการตั้งครรภ์แต่จริงๆ แล้วอาการประจำเดือนขาดสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคเครียด ฮอร์โมน ภาวะของโรคต่างๆ หรือแม้แต่การรับประทานยาบางชนิดก็ส่งผลให้ประจำเดือนขาดได้ ทำให้บางคนประจำเดือนขาด 1 เดือนหรือมากกว่านั้น แต่บางครั้งประจำเดือนขาดก็บ่งบอกถึงโรคต่างๆ ได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ประจำเดือนขาดมักพบได้กับผู้ใหญ่เพศหญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยอาการหมดประจำเดือนจะส่งผลต่ออารมณ์และร่างกาย หากสงสัยว่าอาการประจำเดือนขาดเป็นอย่างไร มีสาเหตุอะไรที่ทำให้ประจำเดือนขาดเรามาหาคำตอบของกันในบทความข้างล่างนี้เลย
ประจำเดือนขาดคืออะไร แล้วประจำเดือนแบบไหนปกติ
ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถขับเลือดออกทางช่องคลอดได้ตามปกติซึ่งบางครั้งประจำเดือนขาดแต่ไม่ท้อง หลายคนกังวลแล้วประจำเดือนสามารถขาดได้นานสุดกี่วันล่ะ ถ้าประจำเดือนขาดเกิน 4 เดือนขึ้นไปจะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนขาด แต่ถ้าประจำเดือนขาดไม่เกิน 2 เดือนจะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่นเพศหญิง จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ภาวะขาดประจำเดือนตั้งแต่แรกสาว และภาวะประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ โดยปกติแล้วประจำเดือนของผู้หญิงจะมาทุกๆ 28-30 วัน จะเป็นประจำเดือน 3-5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน และไม่ควรเกิน 80 ซีซี ควรจะต้องเปลี่ยนผ้าอนามัย 4 แผ่นต่อวัน แต่ประจำเดือนขาดบางครั้งอาจจะเกิดจากโรคต่างๆ ได้เช่นกัน
ประเภทของภาวะประจำเดือนขาดแบบไหนที่อันตราย
ภาวะประจำเดือนขาดมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด วัยทอง ยาบางชนิดที่รับประทานเข้าไป ฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งประเภทที่ทำให้ประจำเดือนขาดแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ประจำเดือนขาดแบบปฐมภูมิ
ภาวะประจำเดือนขาดแบบปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) เป็นภาวะการผิดปกติส่งผลทำให้ประจำเดือนขาดตั้งแต่ช่วงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยคนที่มีภาวะนี้เมื่ออายุ 15 ปี หรือช่วงวัยรุ่นจะไม่เคยเป็นประจำเดือน แต่เพศหญิงที่มีอายุในช่วงวัยเดียวกันจะเป็นประจำเดือนกันหมดแล้ว ซึ่งสาเหตุประจำเดือนขาดมาจากการที่ร่างกายมีความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์แต่เกิด หรือพันธุกรรม ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาด
ประจำเดือนขาดแบบทุติยภูมิ
ภาวะประจำเดือนขาดแบบทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) เป็นภาวะที่ประจำเดือนขาดไปประมาณ 4 เดือน ซึ่งเป็นภาวะประจำเดือนขาดที่สามารถพบได้บ่อยกับเพศหญิง โดยสาเหตุประจำเดือนขาดมีได้ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ในร่างกาย โรคต่างๆ ฮอร์โมนที่ไม่คงที่ หรือประจำเดือนขาดอาจจะเกิดจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่งผลทำให้ประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ บางเดือนก็มาผิดปกติ
อาการที่บ่งบอกว่าจะทำให้ประจำเดือนขาด แล้วส่งกระทบตามมาอย่างไร?
อาการประจำเดือนขาดในเพศหญิง หากประจำเดือนขาดไม่เกิน 10 วัน ก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ บางคนประจำเดือนไม่มาแต่มีตกขาว หรือบางครั้งอาจจะขาดไป 1 เดือน ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาด ท้องอืดหากประจำเดือนขาดในช่วงแรกไม่ต้องกังวล เพราะสามารถปรับพฤติกรรมที่ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาดให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าประจำเดือนหายไปนานมากกว่า 3 เดือนจนผิดปกติ หรือประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ ควรต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด มีอาการดังต่อไปนี้
- ไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อนตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์
- มีอาการปวดหัวผมร่วง และประจำเดือนขาดไปจนผิดปกติ
- ประจำเดือนขาด ท้องป่อง หรือปวดท้องน้อย
- มีอาการหอบ เหนื่อยง่าย และประจำเดือนขาดช่วงไป
- ประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ บางครั้งประจำเดือนมาเยอะจนผิดปกติ หรือมากกว่า 7 วัน
- ประจำเดือนมาปกติ แล้วอยู่ๆ ก็หายไปมากกว่า 3-6 เดือน โดยที่ไม่ได้ท้องควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุประจำเดือนขาด
ประจำเดือนขาดอาจบงบอกถึงโรคต่างๆ เช่น
- โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) ชื่อย่อเรียกว่า PCOS เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตเอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, แอนโดรเจน และอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำอยู่ในรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก ประจำเดือนขาดท้องป่องหรือที่หลายคนรู้จักว่า ช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งหากเกิดซีสต์หรือมีถุงน้ำในรังไข่ จะทำให้เกิดการเบียดและรังไข่ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนขาดช่วงไปหรือมาไม่ปกติ
- โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure) คือการหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติอาจจะหมดก่อนอายุ 40 ปี ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด เช่นการผ่าตัดศัลยกรรม การได้รับรังสีทำเคมีบำบัด การฉายหรือได้รับรังสีในบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกราน ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาด
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดมีอะไรบ้าง
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดมีหลากหลายสาเหตุ และปัจจัยเช่น
- การตั้งครรภ์ หากประจำเดือนขาดไปหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การสัญนิฐานว่าท้องอาจจะเป็นข้อแรกๆที่หลายคนนึกถึง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนประจำเดือนขาดสามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยสามารถหาซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจได้เอง หรือไปตรวจกับแพทย์เพื่อยืนยันผลให้ชัดเจน
- ความเครียด ความกังวล การทำงานหนักสะสม ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด เพราะความเครียดมีผลส่งต่อการหลั่งฮอร์โมนในเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และส่งผลให้เกิดประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ
- น้ำหนักตัวที่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดลงมีผลต่อการทำให้อาการประจำเดือนขาด เพราะสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอทำให้ไข่ตกช้าลง คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมามากส่งผลต่อการเกิดประจำเดือนขาด
- การทานยาคุมกำเนิด ส่งผลทำให้ประจำเดือนมากระปริกระปรอย มาเยอะ มาไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะไม่มาเลย ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด ยาคุมกำเนิดแบบฉีดหรือห่วงจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนส่งผลให้ประจำเดือนขาด
- การกินยาบางชนิด อาจจะส่งผลข้างเคียงทำให้ประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้ายารักษาอาการทางจิต ยาโรคไทรอยด์ ยากันชัก ยาความดัน เป็นต้น
- เพศหญิงที่เข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 45-55 ปี ประจำเดือนขาดหายไปเองตามธรรมชาติ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ และหากเลยช่วงวัยทองแล้วประจำเดือนขาดไปเอง
แนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะประจำเดือนขาด
การรักษาภาวะขาดประจำเดือน มีดังนี้
- การรักษาด้วยการใช้ยา โดยการกินยาฮอร์โมนเสริม เพื่อให้หลั่งฮอร์โมน สาเหตุประจำเดือนขาด
- การผ่าตัดตามสาเหตุของประจำเดือนขาดเพื่อแก้ปัญหาต่อมหมวกไตผิดปกติตั้งแต่กำเนิด รังไข่ทำงานได้เต็มที่ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนลดลง เนื้องอกในมดลูก เป็นต้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ประจำเดือนขาด
- ไม่ทำให้ตัวเองเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งสารที่ทำให้ประจำเดือนขาด
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรปรับเวลาการนอนใหม่ให้เพียงพอในแต่ละวัน จะทำให้ประจำเดือนมาปกติ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักตัวมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนในกระบวนการตกไข่ ส่งผลทำให้รักษาภาวะขาดประจำเดือน
สรุปการเกิดภาวะประจำเดือนขาด
ประจำเดือนขาด เป็นอาการของภาวะที่ร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลทำให้ประจำเดือนมาขาด ๆ หาย ๆ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกคน สาเหตุที่ประจำเดือนขาดมีหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ ความเครียดกังวล ความผิดปกติของระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การเข้าสู่วัยทองหรือโรคต่าง ๆ ซึ่งส่งผลทำให้ประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติ โดยถ้าประจำเดือนขาดหายไปนานๆ มากกว่า 4 เดือนขึ้นไปควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา