โรคซึมเศร้า คือโรคประเภทหนึ่งทางจิตเวช ที่ส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านความคิด โดยปัจจุบันพบว่าโรคซึมเศร้า พบเจอได้ง่ายและใกล้ตัวอาจจะเกิดขึ้นได้กับคนใกล้ชิด คนรู้จัก หรือเพื่อน ๆ และอาจเกิดปัญหาร้ายแรงตามมาหากไม่มีการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี โดยทุกคนสามารถเรียนรู้ถึงอาการโรคซึมเศร้าและวิธีการป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อสังเกตความผิดปกติของคนรอบข้างที่อาจจะมีแนวโน้มเป็นซึมเศร้าเพื่อช่วยกันหาสาเหตุและป้องกันผลข้างเคียงของอาการและยังสามารถใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้าซึมเศร้าแบบทดสอบด้วยตัวเองได้ เพื่อหาว่าตนเองมีความเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และหากมีความเสี่ยงอยู่ในระดับไหน เพื่อช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งต้องให้มีการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางอีกด้วย
อาการโรคซึมเศร้าเบื้องต้นมีอะไรบ้าง?
สำหรับกลุ่มโรคซึมเศร้าหรือ Depressive disorder คือ กลุ่มที่มักมีอารมณ์เศร้า ท้อแท้และสิ้นหวัง จนรู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยที่เกิดจากหลายสาเหตุของโรคซึมเศร้า และอาจจะมีการแสดงออกของอาการโรคซึมเศร้าที่แตกต่างกัน คนใกล้ชิดควรมีความรู้เรื่องอาการเบื้องต้นของความผิดปกติต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เร่งช่วยกันแก้ไข และรักษาโรคซึมเศร้าตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะเป็นและมีอาการเบื้องต้นดังนี้
- โรคซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นและเด็ก
กลุ่มนี้ผู้ปกครองควรต้องเอาใจใส่มาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อเด็กมีความเปลี่ยนแปลงและย่างเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเกิดจากหลากหลายสาเหตุทั้งเกิดจากปัญหาในครอบครัว การปรับตัวเข้าสู่สังคม หรือต้องเปลี่ยนสถานที่ศึกษาและต้องพบเจอกลุ่มเพื่อนใหม่ ๆ โดยอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้อาจจะมีระยะเวลาติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ดังนี้
- เด็กมักจะเริ่มเก็บตัว เฉื่อยชา พูดน้อยลง
- หงุดหงิด โมโหง่าย มักไม่พอใจหรือรู้สึกว่าขวางหูขวางตาไปหมด
- ผลการเรียนเริ่มตก และไม่อยากไปโรงเรียน
- เริ่มมีอาการก้าวร้าว หนีโรงเรียน
- ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่มีความสุข
- อาจจะมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด
- แอบร้องไห้ และรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
- มีความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
- เสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตาย
- โรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุพบว่ามีภาวะเป็นซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากสภาพทางร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งเรื่องสุขภาพและทางด้านสภาพจิตใจโดยอาการต่าง ๆ อาจจะมีความเหมือนหรือแตกต่างจากกลุ่มอื่นดังนี้
- มักรู้สึกว่าตนเองอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ไม่สบายตัว
- เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่ไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ
- รู้สึกเบื่อหน่าย และไม่อยากออกไปไหน
- เบื่ออาหาร ทานอาหารน้อยลง
- พูดน้อยลง และมักมีอาการหงุดหงิด
- เริ่มรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า และอยากฆ่าตัวตาย
สาเหตุของโรคซึมเศร้าและปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น
มีหลายสาเหตุด้วยกันที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้า ที่มักเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในหลาย ๆ กลุ่มหากปล่อยไว้ หรือถูกเพิกเฉยจากคนรอบข้างอาจเกิดปัญหาที่แก้ได้ยากและอาจเกิดการสูญเสียขึ้นได้ โดยโรคซึมเศร้าสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ มีดังนี้
- ความเครียดสะสม ที่เกิดจากหลายสาเหตุทั้งเรื่องงาน ความกดดัน เกิดจากปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ซึ่งยิ่งมีความเครียดสะสมมากเท่าไหร่ก็มีความเสี่ยงของ
- การสูญเสียครั้งใหญ่ หรือสูญเสียบุคคลที่รักและมีความสำคัญในชีวิตมาก ๆ เช่น พ่อแม่ สามี ภรรยา หรือลูก ๆ ที่เป็นดวงใจ
- สภาพจิตใจโดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นและเด็กที่เกิดจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม การถูกกดดันให้ต้องเป็นไปตามที่พ่อแม่ตั้งเป้าหมายไว้
- ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น หรือเกิดจากปัญหาการเข้าสังคมการปรับตัว การถูกบูลลี่ หรือถูกแบ่งแยกชนชั้น จากครอบครัว เพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงาน
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม ซึ่งโรคซึมเศร้าเกิดจากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเกิดภาวะซึมเศร้า เป็นคนคิดมาก มองโลกในแง่ลบ
ประเภทของโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้าหมายถึง โรคทางจิตเวชที่เกิดจากสารเคมีในสมองลดลง ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านความคิด ส่งผลต่อจิตใจและเกิดความวิตกกังวลทำให้ไม่มีความสุข โดยโรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ดังนี้
- โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว เป็นผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว ที่มีภาวะของความวิตกกังวลจากเรื่องงาน เหตุการณ์ต่าง ๆ และมีอาการทางด้านร่างกายอย่างน้อย 3 อาการดังต่อไปนี้
- กระสับกระส่าย
- อ่อนเพลีย
- หงุดหงิด
- ปวดเมื่อยตึงกล้ามเนื้อ
- สมาธิลดลง
- นอนหลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิท หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
- โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางด้านอารมณ์ผิดปกติ ทั้งด้านความคิดและพฤติกรรมแบบขึ้น ๆ ลง ๆ หรือสลับกัน เช่น มีอารมณ์ดีเกินปกติ หรือ หงุดหงิดเกินกว่าปกติและหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยเพียง 1 อาการก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
- มีความมั่นใจสูงและหลงผิดว่าตนเองเป็นเทพเจ้า มีความสามารถพิเศษ
- ไม่หลับไม่นอน ไม่ต้องการพักผ่อน
- ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรม และว่อกแว่กบ่อยครั้ง
- ชอบพูดมากและพูดเร็ว
- ความคิดเร็ว มีหลายโครงการและอยากทำหลายอย่าง
- มีพฤติกรรมที่เสี่ยงมากขึ้น อาจใช้สารเสพติด
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าตามคู่มือ DSM-5 Criteria
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าตามคู่มือ DSM-5 Criteria เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้อย่างน้อยตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป และต้องมีอาการในข้อ 1 หรือข้อ 2 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีทั้ง 2 ข้อและต้องมีอาการตลอดทั้งวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีอาการเหล่านี้ทุกวันด้วย
- มีอารมณ์ซึมเศร้า ว่างเปล่า สิ้นหวังตลอดทั้งวัน ร้องไห้ง่ายและเป็นแบบนี้ทุกวัน ส่วนเด็กและวัยรุ่นจะมีอาการหงุดหงิด
- ไม่สนใจการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดและลดลงทุกวัน
- มีอาการเบื่ออาหารจนกระทั่งน้ำหนักลดหรือทานอาหารมากเกินไปจนน้ำหนักขึ้น
- มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ และบางครั้งก็นอนมากเกินไป
- มีความกระวนกระวายไม่มีความสุข หรืออาจเหนื่อยหน่ายและเฉื่อยช้าลง
- มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตลอดเวลา
- มีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า หรือรู้สึกผิดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมามากเกินไป
- มีอาการใจลอย รู้สึกลังเล และไม่มีสมาธิ
- คิดหรือพูดถึงเรื่องการตาย อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
การป้องกันโรคซึมเศร้าก่อนเข้าสู่ขั้นวิกฤต
สำหรับหลายคนที่ยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะของโรคซึมเศร้า ยังสามารถสำรวจตนเองและหาทางป้องกันได้ รวมไปถึงบรรดาผู้ปกครองต้องคอยสังเกตบุตรหลานของตนเอง และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งก็อาจจะเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้ จากปัจจัยหลายอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งจะมีความวิตกกังวลกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใกล้ตัว และนอกจากจะป้องกันได้แล้วยังเป็นการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองได้เพียงเริ่มเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ที่จะแนะนำนี้และวิธีป้องกันที่สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ มีดังนี้
- ให้ทำการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับอารมณ์เศร้า หรือเรื่องที่ทำให้เป็นกังวล
- ปรึกษาหรือคุยกับคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
- แบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกายอย่าวสม่ำเสมอ
- ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชื่นชอบและมีความสุขกับครอบครัว กลุ่มเพื่อน
- ต้องควบคุมอารมณ์ หมั่นสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและให้ตรงเวลา รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทำกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายต่าง ๆ เช่น เล่นโยคะ ระบายสีภาพมันดาลา
- ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสังคม เช่น ทักษะการสื่อสาร
- เลี้ยงสัตว์เพื่อให้มีกิจกรรม ผ่อนคลายและมีความสุขเป็นการบําบัดโรคซึมเศร้าได้
- ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำอย่างไร
หากพบว่ามีคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้และก็สามารถบําบัดโรคซึมเศร้าได้หลายวิธีและยังมียารักษาโรคซึมเศร้าได้ตามระดับโรคซึมเศร้าซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง โดยหน้าที่ของหลายคนที่มีคนรู้จักเป็นซึมเศร้าควรต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- ต้องพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และให้ผู้ป่วยได้รับความสบายใจที่จะเล่าเรื่องไม่สบายใจให้ฟังด้วยความสมัครใจ และต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจ
- ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการโรคซึมเศร้า การแสดงออกของผู้ป่วย เพื่อสามารถรับมือ และอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
- ให้กำลังใจกับผู้ป่วยในเรื่องของการรักษา และคอยอยู่เคียงข้าง รับฟังและสนับสนุนทุกช่องทางให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารักษาอย่างเต็มใจและสบายใจ
- ต้องคอยสังเกตอาการโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งการเริ่มทำร้ายตัวเองและสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยเพื่อรีบเข้าพบแพทย์ทันที
- อยู่เคียงข้างผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และคอยช่วยเหลือทั้งให้ความชื่นชมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
สรุปโรคซึมเศร้ารักษาหายไหม?
โรคซึมเศร้ารักษาหายไหม สำหรับโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบเจอบ่อยซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นไปจนถึงวัยชรา ซึ่งโรคซึมเศร้ารักษาได้และสามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ทั้งยังมีคู่มือโรคซึมเศร้าซึมเศร้าแบบทดสอบเพื่อประเมินว่าตนเองมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าหรือไม่ ที่นอกจากจะมีรักษาที่ต้องพบจิตแพทย์แล้ว ยังมีวิธีบําบัดโรคซึมเศร้าที่ทำให้สามารถหายขาดได้ และใช้ชีวิตในทุก ๆ วันได้อย่างมีความสุข