Line chat

ทำความรู้จักภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง พร้อมการรับมืออย่างถูกวิธี

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง

 

โรคซึมเศร้าภาวะใกล้ตัวที่น่ากลัวกว่าที่คิด จากสถิติในปี 2564 พบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยจากภาวะซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ราว ๆ 2% ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจึงเป็นภาวะใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม หากเพื่อน ๆ สงสัยกันแล้วว่าอาการซึมเศร้า ต่างจากภาวะซึมเศร้าเรื้อรังอย่างไร สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้


ซึมเศร้าเรื้อรัง คืออะไร?

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง dysthymia เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ที่เกิดขึ้นจากอาการซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนแปรเปลี่ยนเป็นภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ผู้เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังจะมีอาการเศร้าหมอง หดหู่ ไม่อยากอาหาร ไม่อยากทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยากเข้าสังคม อารมณ์ขึ้น-ลงผิดปกติ นอนหลับยาก ไม่มีสมาธิ หรือที่หนักกว่านั้นคือมีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตาย 

ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ เกิดขึ้นได้ทั้งจากหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน เช่น พันธุกรรม เหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต การสูญเสีย สิ่งแวดล้อม สารเคมีในสมองเสียสมดุล และอื่น ๆ ซึ่งภาวะซึมเศร้าเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นและเรื้อรังนานกว่า 2 ปีหรือมากกว่านั้น


สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง

โรคซึมเศร้าเรื้อรังเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

  • พันธุกรรม: แม้จะยังไม่มีผลวิจัยออกมาแน่ชัดแต่จากสถิติพบว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง มักจะมีคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช
  • สารเคมีในสมองเสียสมดุล: การหลั่งสารเคมีในสมอง มีผลโดยตรงต่อสารสื่อประสาทในสมองที่เป็นตัวกำหนดอารมณ์และความรู้สึก การเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง
  • ปัจจัยทางด้านร่างกาย: โรคเรื้อรังและการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • เหตุการณ์สูญเสียหรือภาวะกระทบกระเทือนทางจิตใจ: ความเครียดจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาจากที่ทำงาน การสูญเสียคนสำคัญ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง

นอกจากปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้น โรคซึมเศร้าเรื้อรังยังสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพสังคม สภาพสิ่งแวดล้อม การกระทบกระเทือนทางสมอง ระดับฮอร์โมน และอื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบันทางการแพทย์ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของอาการซึมเศร้าเรื้อรังได้ 


อาการของภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเป็นอย่างไร

ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละตัวบุคคล ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจะมีดังนี้

  • ผู้มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังมักจะมีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับได้ไม่นาน ตื่นยาก รู้สึกอ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • ไม่มีสมาธิ
  • ความสามารถในการทำงานและการตัดสินใจลดลง
  • ผู้มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังมักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
  • รู้สึกสิ้นหวัง หดหู่ ไม่มีกำลังใจในการใช้ชีวิต
  • ไม่อยากพบปะผู้คน
  • ไม่อยากทำกิจกรรม
  • ผู้มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังมักจะมีความคิดที่ไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง หรือโทษตัวเอง 
  • รู้สึกไม่มีค่า
  • มีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตาย หรือวางแผนที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง

การรักษาภาวะซึมเศร้าเรื้อรังอย่างถูกวิธี

หากเพื่อน ๆ มีอาการตามที่ได้กล่าวไปในหัวข้อด้านบน แล้วกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หัวข้อนี้เราจะมีพูดถึงแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี

การใช้ยา

เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยแล้วพบว่าคุณกำลังตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง แพทย์จะทำการจ่ายยาต้านเศร้าเพื่อรักษาอาการที่คุณกำลังเผชิญอยู่ให้ดีขึ้นตามอาการและความเหมาะสม โดยยาที่แพทย์นิยมใช้รักษาภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจะมีทั้งหมด 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  • ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants) 
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) 
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitors) 

วิธีจิตบำบัด

การปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด เป็นหนึ่งในวิธีที่แพทย์มักจะใช้รักษาควบคู่กับการทานยาปฏิชีวนะ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญของการบำบัดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยและคนรอบตัวเข้าใจสภาวะที่คนไข้กำลังเผชิญ พร้อมทั้งหาวิธีเยียวยาและจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม


ความแตกต่างระหว่างซึมเศร้าเรื้อรัง กับ ซึมเศร้า

ซึมเศร้าเรื้อรัง อาการ

 

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) มีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) แต่โรคซึมเศร้าเรื้อรังจะมีอาการที่ไม่รุนแรงเท่าโรคซึมเศร้า แต่จะมีระยะเวลาของอาการที่ยาวนานติดต่อกันมากกว่า 1-2 ปี 


ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อันตรายหรือไม่?

ถึงแม้โรคซึมเศร้าเรื้อรังจะไม่ได้มีการแสดงออกทางร่างกายที่รุนแรง แต่การปล่อยปละละเลยอาการเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ อาจทำให้ผู้ป่วยมีความคิดด้านลบกับตนเอง จนอยากที่จะฆ่าตัวตาย


สรุปซึมเศร้าเรื้อรังคืออะไร ควรรับมืออย่างไรเมื่อมีอาการ

ถึงแม้ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจะไม่ได้มีอาการรุนแรงเท่าภาวะซึมเศร้าปกติ แต่การปล่อยสภาวะเหล่านี้เอาไว้นาน ๆ ก็มีแต่จะเป็นผลเสียต่อตนเองและคนรอบข้าง หากเพื่อน ๆ มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หรือกำลังสงสัยว่าตนเองมีสภาวะดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวเพื่อหาแนวทางแก้ไขและวิธีรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับตัวบุคคล