Line chat

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาพาราเด็ก และวิธีการลดไข้สำหรับเด็กเล็ก

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาพาราเด็ก

ยาพาราถือเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ง่าย เป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, ลดไข้ได้ในทุกเพศทุกวัย แต่การใช้ยาพาราในเด็กโดยเฉพาะเด็กวัย 6 เดือนถึง 12 ปี ก่อนให้ยาพาราเด็กผู้ปกครองต้องมีการตรวจเช็กปริมาณของยาให้มีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก เพราะการให้เด็กกินยาพารามากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็กได้ โดยในวันนี้จะมาแนะนำวิธีการให้ยาพาราเด็กอย่างไรให้ปลอดภัย และวิธีการลดไข้สำหรับเด็กเล็ก



ยาพาราเด็กคืออะไร ?

ยาพาราเด็กคือ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาที่ใช้สำหรับลดไข้ และบรรเทาอาการปวด ซึ่งมีรูปแบบของยาพารา 3 ชนิดคือ 1.ยาพาราเม็ดขนาด 325-500 มิลลิกรัม, 2.พาราเด็กชนิดน้ำ 120 มิลลิกรัม/ปริมาณ 5 มิลลิลิตร, 3.พาราดรอป หรือยาพาราชนิดแขวนตะกอน ยาพาราถือเป็นยาที่ไม่มีความอันตรายหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยการให้ยาสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี จะมีข้อแนะนำจากแพทย์คือขนาดยาพาราเด็กจะต้องมีความสอดคล้องกับน้ำหนักตัวของเด็ก และควรให้ยาในช่วงเวลาที่ห่างกันทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง       


7 ข้อแนะนำก่อนการให้ยาพาราเด็ก ให้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย

ข้อแนะนำการใช้ยาพาราเด็ก

การให้ยาพาราเด็กสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี จะมีข้อแตกต่างจากเด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปี เพราะเด็กที่อายุน้อยอาจได้รับผลข้างเคียงที่สูงกว่า โดยในหัวข้อนี้จะมี 7 ข้อแนะนำการให้ยาพาราสำหรับเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยดังนี้

1. ไม่ใช้พารากับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน

เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน ยังถือว่าเป็นวัยทารกที่มีความเปราะบาง ซึ่งการให้ยาพาราเด็กในช่วงวัยนี้ถือเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าหากพบว่าลูกน้อยมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรงจะเป็นการรักษาที่ปลอดภัยต่อสุขภาพลูกน้อยมากกว่า

2. เลือกประเภทของยาตามช่วงอายุเด็ก

ยาพาราเด็กนั้นจะมี 3 ชนิดคือ ชนิดเม็ด, ชนิดน้ำ, ชนิดแขวนตะกอน หรือพาราดรอป โดยแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยที่ต่างกันคือ

  • ยาพาราเม็ดเด็กขนาด 325 – 500 มิลลิกรัม โดยขนาด 325 กรัม จะเหมาะกับเด็กที่มีอายุ 3-6 ปี และ 500 มิลลิกรัมจะเหมาะกับเด็กอายุ 6-12 ปี
  • ยาพาราเด็กชนิดน้ำ 120มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร จะเหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
  • ยาพาราดรอป 60 – 120 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป

3. ขนาดยาพาราเด็กที่เหมาะสม

ขนาดยาพาราในเด็กแต่ละชนิดจะมีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งไปตามช่วงอายุของเด็ก โดยมีขนาดของแต่ละชนิดดังนี้

  • ยาพาราเด็กชนิดเม็ด สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ควรเลือกขนาด 325 มิลลิกรัม และเด็กอายุ 6-12 ควรเลือกขนาด 500 มิลลิกรัม โดยให้กินครั้งละครึ่งเม็ดทั้ง 2 ขนาด
  • ยาพาราน้ำเด็ก จะคิดตามน้ำหนักตัวเด็กเช่น เด็กมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ควรให้ยาครั้งละไม่เกิน 100-150 มิลลิกรัม
  • ยาพาราดรอป คิดตามน้ำหนักของเด็กเช่นเดียวกับชนิดน้ำ แต่จะใช้ปริมาณหน่วยวัดเป็น ซีซี โดยคิดเป็นน้ำหนักของเด็กคือ 10 กิโลกรัม ต่อยา 1-1.5 ซีซี

4. ระยะเวลาการใช้ยาพาราเด็กที่เหมาะสม

การให้ยาพาราเด็กทุกชนิดจะมีระยะเวลาในการกินต่อ 1 ครั้งคือ ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง และไม่กินต่อเนื่องเกิน 5 – 7 วัน หากอาการไข้ยังไม่หายไปควรพาเด็กเข้ารับการรักษาจากแพทย์ 

5. มีอุปกรณ์ให้ยาที่เหมาะสม

ในการให้ยาพาราเด็กชนิดน้ำ และชนิดดรอป โดยปกติแล้วจะได้รับอุปกรณ์สำหรับตักยา หรือดูดยา โดยจะเป็นช้อน และตัวดูดชนิดดรอป ในการใช้งานควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์หลังใช้งานทุกครั้ง และไม่ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เพราะอาจจะส่งผลให้ขนาดของตัวยาผิดเพี้ยนได้

6. ไม่ใช้ยาพาราเด็กบ่อยเกินไป

เหมาะสำหรับกรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 3 เดือนถึง 3 ปี หากเด็กมีอุณหภูมิที่ 37.5 – 38.4 จะถือว่ายังมีไข้ต่ำ จะสามารถลดไข้โดยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ต้องใช้ยาพาราเด็กได้ เพราะจะช่วยให้เด็กสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการเช็ดตัวที่ถูกต้อง การให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ และให้ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอ

7. ปรึกษาแพทย์

สำหรับผู้ปกครองที่ไม่มั่นใจ หรือมีความกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้ยาพาราเด็ก ควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กโดยตรง เพื่อที่จะสามารถรับยาพาราสำหรับเด็กที่เหมาะสม และคำแนะนำการดูแลเด็กเมื่อมีไข้จากทางแพทย์ จะเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยมากที่สุด


สิ่งที่ต้องเตรียมในการเช็ดตัวลดไข้ โดยการไม่ใช้ยาพาราเด็ก

การใช้ยาชนิดพาราในเด็กหากใช้มากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงให้กับเด็กได้ แต่ถ้าหากเด็กตัวร้อนอุณหภูมิไม่สูงมาก ก็สามารถเลือกที่จะไม่ใช้ยาพาราเด็กในการลดไข้ได้ โดยผู้ปกครองสามารถลดไข้ให้เด็กได้ด้วยวิธีการเช็ดตัวเด็กได้ไม่ยากใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที โดยมีสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเช็ดตัวคือ

  • ผ้าเช็ดตัวสะอาดผืนใหญ่
  • ผ้าปูพื้นกันพื้นเปียก
  • ผ้าขนหนูสะอาดพื้นเล็ก 2 – 4 ผืน
  • กะละมังสำหรับเช็ดตัว 1 – 2 ใบ 
  • น้ำอุ่นสำหรับเช็ดตัว ครึ่งกะละมัง ที่อุณหภูมิประมาณ 29.4 – 35 องศา

วิธีการเช็ดตัวลดไข้ และข้อแนะนำการลดไข้ โดยไม่ใช้ยาพาราเด็ก

วิธีการลดไข้เด็กโดยไม่ใช้ยาพาราเด็ก

เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมากก็คือ การเช็ดตัวลดไข้สำหรับเด็กเพื่อลดไข้โดยไม่ใช้ยาพาราเด็ก ผู้ปกครองเด็กสามารถทำตามได้ง่าย ๆ โดยควรทำแต่ละขั้นตอนด้วยความเบามือ และระมัดระวัง ตามคำแนะนำต่าง ๆ ดังนี้

  1. จัดเตรียมสถานที่กว้าง ๆ ที่สามารถหยิบจับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย ปูพื้นด้วยผ้านุ่ม กันพื้นเปียกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้พื้นเปียก และไม่ควรทำในห้องแอร์
  2. ถอดเสื้อผ้าของเด็กออก ด้วยความเบามือ
  3. ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วบิดให้มาด ๆ
  4. เริ่มต้นเช็ดตัวเด็ก โดยเริ่มจากใบหน้า หน้าผาก และซอกคอ ค่อย ๆ เช็ดให้สะอาด ประมาณ 3 – 4 ครั้ง
  5. เมื่อเช็ดบริเวณใบหน้า และซอกคอเรียบร้อย ให้เริ่มทำการเช็ดบริเวณหน้าอก – ลำตัวเด็ก โดยให้เช็ดประมาณ 3 – 4 ครั้งเช่นเดียวกัน
  6. เมื่อเช็ดลำตัวเสร็จแล้วให้เริ่มเช็ดบริเวณแขน และขา โดยเริ่มที่แขนไปจนถึงรักแร้ เมื่อเสร็จแล้วจึงมาเริ่มเช็ดในส่วนขา
  7. ให้เด็กนอนตะแคง เพื่อเช็ดด้านหลัง และช่วงบริเวณก้นกับขึ้นคอ
  8. เช็ดตัวเด็กให้แห้งด้วยผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ แล้วสวมเสื้อผ้าที่สบายตัวให้กับเด็ก

ข้อแนะนำการลดไข้ที่นอกเหนือจากการเช็ดตัว โดยที่ไม่ใช้ยาพาราสำหรับเด็กจะมีข้อแนะนำดังนี้

  1. การใช้เจลลดไข้ เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยควรเลือกใช้เจลลดไข้ที่มีมาตรฐาน และไม่ควรใช้เจลลดไข้ซ้ำ
  2. การดื่มน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติที่เพียงพอ เพราะการที่เด็กตัวร้อนนั้นจะทำให้เด็กสูญเสียปริมาณน้ำออกทางเหงื่อมาก และการดื่มน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายขับของเสียผ่านทางปัสสาวะได้
  3. การเลือกสวมเสื้อผ้าสำหรับเด็ก ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีความยืดหยุ่น โล่งสบายตัว เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ง่าย
  4. ไม่ควรใช้แอร์เมื่อเด็กเป็นไข้ ควรเปิดห้องให้โล่งอากาศถ่ายเท สามารถเปิดพัดลมช่วยได้แต่ไม่ควรโดนตัวเด็กโดยตรง 

สรุป

ปรึกษาแพทย์หากมีความกังวลการให้ยาพาราเด็ก

เพียงเท่านี้ผู้ปกครองที่มีความสงสัยเกี่ยวกับการให้ยาพาราในเด็ก และเลือกชนิดของยาพาราเด็กอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับวัย ก็จะสามารถรู้แล้วว่าควรเลือกยาพาราสำหรับเด็กชนิดใดถึงจะเหมาะสม และได้รู้เกี่ยวกับวิธีการลดไข้ในเด็กโดยไม่ใช้ยาด้วยการเช็ดตัวง่าย ๆ โดยใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชนิด ที่สามารถหาได้จากที่บ้านได้ สุดท้ายนี้ถ้าหากยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเลือกซื้อยาพาราเด็ก ก็ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรโดยตรง เพื่อที่จะสามารถรับยาที่เหมาะกับเด็กได้เหมาะสมมากที่สุด