ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กมีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ได้กลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมสำคัญในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ฝุ่น PM 2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ง่าย เนื่องจากมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง
บทความนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับฝุ่น PM 2.5 คืออะไร มาจากไหน ผลกระทบจาก PM 2.5 ต่อสุขภาพ PM 2.5 เท่าไหร่ถึงอันตรายและมีวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ในสังคม
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร
ฝุ่น PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matter with diameter of less than 2.5 micron คือฝุ่นละอองขนาดจิ๋วมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ ฝุ่น PM 2.5 เล็กมากจนขนจมูกของเราไม่สามารถกรองได้ ฝุ่น PM 2.5 จึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและปอดได้โดยตรง ฝุ่น PM 2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร มีหลายคนอาจสงสัย แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุทั้งจากกิจกรรมของมนุษย์และธรรมชาติ
อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง
ฝุ่นละออง PM 2.5 มีขนาดเล็กเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทุกคน แต่กลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสได้รับผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 รุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนี้
1. เด็กเล็ก
- ปอดของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่
- หายใจเร็ว ถี่กว่าผู้ใหญ่
- ผิวหนังบอบบางกว่า
- มักใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ได้รับฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายมากกว่าผู้ใหญ่
- เสี่ยงต่อผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงพัฒนาการทางสมอง
2. หญิงตั้งครรภ์
- ทารกในครรภ์ยังพัฒนาอวัยวะต่างๆ
- ฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อทารกผ่านสายรก
- เสี่ยงต่อภาวะแท้งลูก น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ หรือทารกเสียชีวิต
3. ผู้สูงอายุ
- กลไกการป้องกันระบบทางเดินหายใจเสื่อมลง
- ไวต่อการเป็นโรคหรือติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
- เสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็งปอด
4. ผู้มีโรคประจำตัว
- โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคภูมิแพ้
- โรคไต
- โรคมะเร็ง
5. ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
- ตำรวจจราจร
- คนขับรถรับจ้าง
- แม่ค้าพ่อค้าริมถนน
- พนักงานกวาดถนน
- คนงานก่อสร้าง
- พนักงานรักษาความปลอดภัย
- นักกีฬา
- เกษตรกร
การตระหนักรู้และป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักในระยะยาว
ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยแบ่งเป็นกี่ระดับ
ค่าฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ ตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ดังนี้
ระดับ | ค่า AQI | ความหมาย | สี | ผลกระทบต่อสุขภาพ |
1 | 0 – 25 | ดีมาก | ฟ้า | คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง |
2 | 26 – 37 | ดี | เขียว | คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ |
3 | 38 – 50 | ปานกลาง | เหลือง | คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบางกลุ่ม เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว |
4 | 51 – 90 | เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ | ส้ม | คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ควรลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง |
5 | 91 – 200 | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | แดง | คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่ม ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง |
สรุป ค่าฝุ่น PM 2.5 แบ่งเป็น 5 ระดับตามค่า AQI แต่ละระดับมีความหมายและผลกระทบต่อสุขภาพแตกต่างกัน ดังนั้นทุกคนควรติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งปฏิบัติตนตามคำแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
ฝุ่น PM 2.5 ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ
ผลกระทบจาก PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในหลายด้าน เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย
อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. ผลเสียต่อสุขภาพระยะสั้น
- ระบบทางเดินหายใจ: ไอ จาม คันจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด หลอดลมอักเสบ อาการหอบหืดกำเริบ
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด: โรคที่เกิดจาก PM 2.5 มีโรคหัวใจขาดเลือด ชักลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง
- ระบบอื่นๆ: ตาอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองตา แสบตา น้ำตาไหล หรือรู้สึกเหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย
2. ผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว
- โรคเรื้อรัง: โรคที่เกิดจาก PM 2.5 คือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคปอดอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก: ในเด็กอาจมีพัฒนาการทางปอดไม่สมบูรณ์ มีความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดมากขึ้น หรือเด็กที่มีสติปัญญาด้อย พัฒนาการช้า
- ผลกระทบต่อผู้หญิงตั้งครรภ์: ทารกในครรภ์เติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ
- อายุขัยสั้นลง: การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาวอาจทำให้อายุขัยสั้นลง เนื่องจากผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ
เกิดฝุ่น PM 2.5 วิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัย
เมื่อเกิดฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ การดูแลตัวเองให้ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ วิธีดูแลตัวเองสามารถนำไปใช้ได้ มีดังนี้
- ตรวจสอบคุณภาพอากาศ: ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศจากแหล่งน่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่รายงานระดับปริมาณ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง: หากค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสูง ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะการออกกำลังกายต้องใช้แรงมาก เนื่องจากจะทำให้สูดดมฝุ่นละอองมากขึ้น
- ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น: เลือกใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากาก N95 หรือหน้ากากมีคุณสมบัติกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควรสวมหน้ากากให้กระชับกับใบหน้าเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
- ปิดประตูและหน้าต่าง: ในวันมีฝุ่น PM 2.5 สูง ควรปิดประตูและหน้าต่างเพื่อลดการรับฝุ่นละอองเข้าสู่ภายในอาคาร
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ: การใช้เครื่องฟอกอากาศมีแผ่นกรอง HEPA สามารถช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศภายในบ้านหรือที่ทำงานได้
- รักษาความสะอาดภายในบ้าน: ทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอด้วยการเช็ดถูพื้นและเฟอร์นิเจอร์เพื่อกำจัดฝุ่นที่ตกลงบนพื้นผิวต่างๆ
- ดูแลสุขภาพตัวเอง: รับประทานอาหารมีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายในร่ม เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และใช้สารเคมีที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
- ปรึกษาแพทย์: หากมีอาการทางสุขภาพที่น่าเป็นห่วง เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือไอเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือหัวใจ
การดูแลตัวเองในช่วงมีฝุ่น PM 2.5 สูงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณและครอบครัวปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศและมีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
สรุปเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ติดตามข้อมูล สวมหน้ากาก หลีกเลี่ยงฝุ่น งดสูบบุหรี่ ทานดี ออกกำลังกาย พักผ่อน เพื่อรักษาสุขภาพและลดความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ ร่วมใจลดมลพิษ เพื่อสุขภาพดีของเราและคนรอบข้าง