Line chat

ดอกเบี้ยบ้าน ข้อควรระวังในการขอสินเชื่อบ้านที่ต้องรู้และเข้าใจให้ดี

ดอกเบี้ยบ้าน

การซื้อบ้านถือว่า เป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่กว่าจะคว้าความฝันนั้นมาได้ ก็จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้าน ซึ่งมาพร้อมกับตัวแปรสำคัญอย่างดอกเบี้ยบ้าน ที่จะส่งผลต่อภาระทางการเงินในระยะยาว ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับดอกเบี้ยบ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ด้วยการเปรียบเทียบดอกเบี้ยบ้าน 2567 ของแต่ละธนาคาร และสามารถวางแผนการเงินในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ดอกเบี้ยบ้าน คือ อะไร? 

ดอกเบี้ยบ้าน คือ ค่าตอบแทนที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินคิดคำนวณจากสินเชื่อบ้านหรือเงินที่กู้ยืมมาเพื่อซื้อบ้าน เป็นเหมือนค่าเช่าที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารสำหรับการอนุญาตให้ใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงอย่างบ้านนั่นเอง โดยดอกเบี้ยกู้ยืมบ้านมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ

  • ดอกเบี้ยบ้านมีผลโดยตรงต่อจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน ยิ่งดอกเบี้ยสูง ค่าผ่อนก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนการเงิน
  • ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการชำระหนี้ทั้งหมด เพราะเงินส่วนหนึ่งที่ผ่อนแต่ละเดือนจะถูกนำไปชำระดอกเบี้ยก่อน
  • ดอกเบี้ยบ้านเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนทั้งหมดที่ต้องจ่ายเพื่อซื้อบ้าน ดังนั้น การเลือกอัตรา ดอกเบี้ยบ้านที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนโดยรวม
  • การเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยบ้านจะช่วยให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ประเภทของดอกเบี้ยบ้าน

สินเชื่อบ้าน

เมื่อตัดสินใจกู้เงินซื้อบ้าน สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ดอกเบี้ยบ้าน เพราะมันจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระบ้านในระยะยาว โดยดอกเบี้ยกู้บ้านมี 2 ประเภทหลัก ๆ ที่ควรรู้จัก นั่นคือ ดอกเบี้ยคงที่ และ ดอกเบี้ยลอยตัว

ดอกเบี้ยคงที่

ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดไว้ตายตัวในช่วงระยะเวลาหนึ่งของสัญญากู้ เช่น 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี ตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ อัตราดอกเบี้ยบ้านนี้จะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะปรับขึ้นหรือปรับลงก็ตาม

โดยดอกเบี้ยเงินกู้บ้านแบบคงที่จะช่วยให้สามารถคำนวณค่าผ่อนชำระล่วงหน้าได้ ทำให้วางแผนการเงินได้อย่างแม่นยำ และรู้ว่าต้องจ่ายค่าผ่อนชำระเท่าไหร่ในแต่ละเดือนตลอดระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านจะปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะทางเศรษฐกิจ

ดอกเบี้ยลอยตัว

ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ แต่จะปรับเปลี่ยนไปตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ธนาคารกำหนด เช่น MLR (Minimum Loan Rate) หรือ MRR (Minimum Retail Rate) ซึ่งดอกเบี้ยบ้าน MRR คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้ารายย่อย เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น อัตรา ดอกเบี้ย บ้านอ้างอิงเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของธนาคารกลาง

โดยดอกเบี้ย เงินกู้ บ้านแบบลอยตัว มีข้อดี คือ มีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่าดอกเบี้ยคงที่ และปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจ หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ค่าผ่อนชำระก็จะลดลงตามไปด้วย


มีวิธีคิดดอกเบี้ยบ้านอย่างไร

หลาย ๆ ธนาคารมักเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านที่มีการผสมผสานระหว่างดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัว โดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้ช่วง 1 – 3 ปีแรกเป็นดอกเบี้ยคงที่ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ จากนั้น จึงปรับเป็นดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงที่เหลือของสัญญา โดยสาเหตุที่มีการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ย สินเชื่อ บ้านเช่นนี้ เนื่องจาก

  • ใช้ดึงดูดลูกค้า เพราะดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ในช่วงแรก จะทำให้ลูกค้าวางแผนได้ง่าย
  • เป็นการกระจายความเสี่ยง ทำให้ธนาคารสามารถปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจได้
  • เมื่อสัญญาเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว ลูกค้าอาจพิจารณาที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน

โดยขอยกตัวอย่างในการคำนวณดอกเบี้ยบ้าน (แบบง่าย) เช่น มีการกู้สินเชื่อบ้าน เพื่อซื้อบ้าน 2,000,000 บาทอัตรา ดอกเบี้ย กู้ บ้านแบบคงที่ 3 ปีแรกที่ 3% ต่อปี หลังจากนั้น เป็นดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิง MRR + 2% ซึ่งในช่วง 3 ปีแรก เป็นดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่

ดอกเบี้ยต่อปี = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย = 2,000,000 x 3% = 60,000 บาท

ดอกเบี้ยบ้านต่อเดือน = 60,000 บาท / 12 เดือน = 5,000 บาท

ในช่วงหลังจาก 3 ปี เป็นดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว สมมติ ในขณะนั้น ดอกเบี้ย MRR คือ 5%

อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = MRR + 2% = 5% + 2% = 7%

ดอกเบี้ยต่อปี = เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยใหม่

ดอกเบี้ยบ้านต่อเดือน = ดอกเบี้ยต่อปี / 12 เดือน


ขอสินเชื่อบ้านครั้งแรกทำอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อขอสินเชื่อดอกเบี้ยบ้าน

การขอสินเชื่อบ้านอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าหากมีการเตรียมตัวดี ๆ ก็สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น โดยขั้นตอนในการขอสินเชื่อบ้าน คือ 

  1. เลือกธนาคาร เพื่อเปรียบเทียบ ดอกเบี้ย บ้าน เงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร เพื่อเลือกธนาคารที่เหมาะสมกับความต้องการ
  2. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อให้การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  3. นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่ธนาคาร จากนั้นก็รอผลการพิจารณา
  4. หากได้รับอนุมัติสินเชื่อบ้าน ก็สามารถทำสัญญากู้เงินกับธนาคารได้

โดยเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอสินเชื่อบ้าน อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร ควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากธนาคารที่สนใจ แต่อย่างไรก็ตาม เอกสารที่ใช้ส่วนใหญ่มีดังต่อไปนี้

  1. เอกสารส่วนบุคคล
    • บัตรประชาชน
    • ทะเบียนบ้าน
    • ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
    • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน
    • สเตทเมนต์บัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน
    • หนังสือรับรองเงินเดือน (ถ้ามี)
  2. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    • สัญญาจะซื้อจะขาย
    • โฉนดที่ดิน (ถ้ามี)
    • แบบแปลนบ้าน
    • ใบอนุญาตปลูกสร้าง (ถ้ามี)
  3. เอกสารอื่น ๆ
    • แบบฟอร์มขอสินเชื่อที่ธนาคารจัดเตรียมไว้
    • เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ (ถ้ามี เช่น เงินปันผล เงินค่าเช่า)

สรุปแล้ว ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร?

ดอกเบี้ยบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการซื้อบ้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ดอกเบี้ยคงที่ และ ดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งโดยปกติแล้ว ในการขอสินเชื่อบ้านมักใช้รูปแบบดอกเบี้ยผสม เป็นดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 1 – 3 ปีแรก และเป็นดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงสัญญาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับดอกเบี้ยบ้านให้ดี เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกสินเชื่อบ้านได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการเงินในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ