ไข้หวัดใหญ่ หรือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ สาเหตุโรคไข้หวัดใหญ่คือเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาการไข้หวัดใหญ่นั้น มักจะรุนแรงกว่าอาการของไข้หวัดธรรมดา อาการของไข้หวัดใหญ่เบื้องต้น เช่น ไข้สูง ไอแห้งๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดหัว อ่อนเพลีย คัดจมูก เจ็บคอ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ทราบอาการและปล่อยปละละเลยอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ทุกคนจึงควรทราบรายละเอียดของโรคไข้หวัดใหญ่ เกี่ยวกับอาการ ประเภทหรือชนิด และวิธีการรักษาไข้หวัดใหญ่ไว้เบื้องต้น
ไข้หวัดใหญ่ มีกี่สายพันธุ์ และมักระบาดช่วงใด
ในปัจจุบัน ไข้หวัดใหญ่มีทั้งหมด 4 ชนิด แบ่งตามอาการของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A, B, C และ D
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A (Flu A) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงกว่าชนิดอื่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ยังแบ่งย่อยตามโปรตีนบนผิวเซลล์ ได้แก่ Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ที่พบได้บ่อยในคน ได้แก่ H1N1 และ H3N2
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B พบได้ทั่วไปเช่นชนิด A แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า มักก่อให้เกิดอาการไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C พบได้น้อยกว่าชนิด A และ B และมักทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด D ส่วนใหญ่พบในสัตว์ และยังไม่มีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์
อาการของไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์ มีอะไรบ้าง?
อาการของไข้หวัดใหญ่ชนิด A (Flu A) จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่อาจมีความรุนแรงกว่า โดยทั่วไปอาการจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน ภายใน 2-4 วัน หลังจากได้รับเชื้อ influenza a อาการ คือ
- ไข้สูง (มักสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์)
- หนาวสั่น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่หลัง แขน และขา
- ปวดหัว อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างมาก
- เบื่ออาหาร
- ไอแห้งๆเจ็บคอ คัดจมูก หรือ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก (ในบางรายที่รุนแรง)
- หากอาการรุนแรง อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน (พบได้บ่อยในเด็ก) ท้องเสีย ร่วมด้วย
อาการแทรกซ้อน:
ในบางราย ไข้หวัดใหญ่ชนิด A อาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
อาการของไข้หวัดใหญ่ชนิด B
มักมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิด A แต่ก็อาจรุนแรงในบางรายได้ อาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ชนิด A แต่อาจไม่รุนแรงเท่า
อาการไข้หวัดใหญ่ชนิด C
ความรุนแรง: มักก่อให้เกิดอาการเล็กน้อย คล้ายไข้หวัดธรรมดา
อาการ คือ
- น้ำมูกไหล
- ไอ
- เจ็บคอ
- ไข้ต่ำ (บางรายอาจไม่มีไข้)
อาการไข้หวัดใหญ่ชนิด D ส่วนใหญ่พบในวัว ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์
ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันด้วยวัคซีนได้หรือไม่
วัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่วัคซีนช่วยลดโอกาสติดเชื้อ ลดความรุนแรงของอาการไข้หวัดใหญ่ และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพโดยรวม และความใกล้เคียงระหว่างสายพันธุ์ไวรัสในวัคซีนกับสายพันธุ์ที่ระบาด โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 40-60%
อาการไข้หวัดใหญ่ รักษาอย่างไรให้หายเร็ว
วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ให้หายเร็ว รักษาไข้หวัดใหญ่ด้วยตัวเอง และวิธีบรรเทาอาการให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น มีอะไรบ้างไปดูกัน
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มที่
- ดื่มน้ำมากๆ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือน้ำอุ่น ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้
- ยาแก้ไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย ยาต้านไวรัส “โอเซลทามิเวียร์” เป็นยาที่แพทย์นิยมสั่งจ่ายเพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ โดยยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อผู้ป่วยได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการแต่สามารถกินยาตามอาการได้
- ทานยาพาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน ช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดเมื่อย
- ยาแก้ไอ เลือกใช้ตามอาการไอ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาบรรเทาอาการไอ
- สเปรย์พ่นจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก
- เพิ่มความชื้นในอากาศ ใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศ หรือ สูดไอน้ำอุ่น ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เน้นผักผลไม้ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงได้
ควรไปพบแพทย์เมื่อ:
- ไข้สูงมาก หรือ ไข้ไม่ลดลงหลังจากทานยาลดไข้แล้ว
- หายใจลำบาก หรือ หายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บหน้าอก
- มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย
- อาการไม่ดีขึ้น หรือ แย่ลง
รู้ทันอาการไข้หวัดใหญ่ เมื่อใดควรพบแพทย์
ไข้หวัดใหญ่ อาการกี่วัน? ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่จะสามารถหายได้เองภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาหากมีอาการตามข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากเป็นอาการไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรงและอาจส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตได้ โดยอาการดังกล่าวเช่น มีไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ปลายมือ หรือปลายเท้าเป็นสีเขียว มีผื่นขึ้น หายใจหอบ อาเจียน มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอก หรือหน้ามืดเป็นลม
สรุปอาการไข้หวัดใหญ่ที่ทุกคนควรรู้ ป้องกัน เพื่อดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก
influenza virus คือ เชื้อที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อแพร่กระจายผ่านทางละอองฝอยจากการไอ จาม หรือ พูดของผู้ติดเชื้อ การป้องกันในปัจจุบันสามารถทำได้โดย ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาการไข้หวัดใหญ่นั้นมีหลายระดับ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์